ความแตกต่างในการสร้าง Application กับ Website (เบื้องต้น)

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้เข้าใจว่าการสร้าง Application ต่างจาก Website ยังไงบ้างทำไมทั้งที่น่าจะคล้ายๆกัน แต่ทำไมถึงเวลาจะแก้ไขอะไรบ้างอย่างถึงใช้เวลามาก ทั้งที่เวปไซด์แค่เอาไฟล์ไปทับใน Server ก็เสร็จแล้ว งั้นเรามาดูกันว่าทำไมถึงยากและใช้เวลามาก


1. เรื่อง Server

Application

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การนำไฟล์ขึ้น Store นั้นก็ไม่ต่างกับการ นำไฟล์ไปใส่ไว้ใน Server ของคนอื่น ทาง Store เขาคงไม่ให้เราเข้าถึง Server ของเขา หรือให้เราเอาไฟล์อะไรก็ได้มาใส่ Server เขา เป็นไวรัสหรือเปล่าก็ไม่รู้ วางผิดวางถูกหรือเปล่าอาจทำให้ Store เขาพังก็ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการส่ง Review ให้กับ Store ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยน Code

Website

ซึ่งต่างจากเวปไซด์ที่ส่วนใหญ่เป็นของเราเอง หรือเราสามารถส่งไฟล์ขึ้นไปได้เอง จะผิดจะถูกก็ไม่มีผลกระบทกับคนอื่น จึงง่ายมากในการปรับเปลี่ยนแต่ความเสี่ยงที่จะผิดพลาดก็จะสูงไปด้วย


2. การสร้างไฟล์

Application

ในการส่งไฟล์ให้ Store Review นั้น โปรแกรมจะทำการรวมไฟล์ทั้งหมดเป็นไฟล์เดียว แล้วส่งเข้า Server ของทาง Store โดยทุกขั้นตอนจะมีการตรวจสอบไฟล์ด้วย โปรแกรมอัตโนมัติ (bot) ว่าถูกต้องก่อนที่จะให้คนเป็นผู้ตรวจ

ทำให้ทุกครั้งที่มีการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรเดียว หรือเพิ่มช่องว่างเข้าไปหรือเปลี่ยนสี ก็จะต้องทำการรวมไฟล์ใหม่ทุกครั้ง ซึ่งก็ต้องใช้เวลาพอสมควรขึ้นอยู่กับ Library ที่ใช้ ยิ่งเยอะและเสียเวลาในการรวมไฟล์

Website

ต่างกับเวปไซด์เราแก้ไฟล์ไหนก็เอาไฟล์นั่นทับไปในเซฟเวอร์ก็เสร็จแล้ว


3. การเปลี่ยน Asset

Application

ในการเปลี่ยน ภาพแต่ละครั้ง ก็ต้องมีการกำหนดไซด์หลายไซด์ให้เหมาะกับแต่ละหน้าจอ เช่น ภาพๆเดียว Iphone ก็ต้องมี 1x, 2x, หรือ 3x ใน Android ก็หลายไซด์ ต้องเลือกใช้ภาพให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยน App Icon ในการเปลี่ยนครั้งหนึ่งๆ เราต้องสร้างไฟล์เยอะมากเพื่อให้รองรับหน้าจอต่างๆ

Website

สำหรับเวปไซด์ก็เหมือนเดิมแค่เอาไฟล์ไปทับก็เสร็จแหละ


4. ผลกระทบการอัพเวอร์ชั่นของ OS

Application

ในบางครั้งการเปลี่ยนเพียงแค่ช่องว่าง อาจต้องใช้เวลามากในการแก้ไข เพราะด้วยตัวของ OS ที่มีการอัพเวอร์ชั้น มีผลกับ Library อาจไม่ Support Library ที่เราเคยใช้ได้ ต้องทำการแก้ไข หรือในบางครั้ง Librayr นั้นถูกยกเลิกไปแล้วต้องไปหา Library ตัวใหม่หรือเปลี่ยนวิธีการ ทาง Bot ที่ตรวจสอบจะไม่ให้เราส่งไฟล์เพื่อ Review ต้องหาวิธีแก้ไขเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่นที่ผมเคยเจอ

ลูกค้าบอกให้เปลี่ยนสี จุดเดียวแต่ใช้เวลา 3-4 วันในการแก้ไข เพราะ Payment Gatway ของ Omise ในเวอร์ชั้นที่ใช้อยู่ ทาง Apple ไม่อนุญาติให้ใช้ บังคับให้ Update แล้วรูปแบบการเขียนก็ไม่เหมือนเดิม ต้องเขียนใหม่ทดสอบใหม่หมด

กลับโดนลูกค้าต่อว่ากลับมาว่า “เปลี่ยนสีจะไปเกียวอะไรกับ Payment Gateway ไม่เกี่ยวกันเลยทำไมผมจะไม่รู้ ใช้เวลาเยอะขนาดนี้ได้ยังไง” เป็นคำที่โดนบ่อยมากๆ

Website

อัพเดท Plugin แล้วก็เช่นเดิม เอาไปทับก็ใช้ได้


5. Review

Application

ขั้นตอนนี้อยู่ที่คนตรวจเลยครับ คน ก็คือ คน เจอคนที่ปล่อยง่ายวันเดียวก็อาจจะได้ขึ้นเลย เจอคนที่ยาก ก็ยากครับบางครั้งอ้างว่า Login ไม่ได้ไม่ให้ผ่าน เราต้องอัพ Video ให้ดูว่าเรา Login ได้ถึงจะปล่อยผ่านก็มี บางครั้งติด 3-4 รอบเกือบ 3 อาทิตย์ กว่าจะผ่านก็มี

ซี่งทุกครั้งที่มีการเปลี่ยน ก็ต้องส่งให้คน Review ทุกครั้ง

Website

ไม่ต้องผ่านใครทั้งนั่น ผ่านเราคนเดียวอัพได้เลยจบ


สรุป

จะเห็นได้ว่าการทำ Application ค่อนข้างยุ่งยาก คนที่ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจว่ายุ่งยากอย่างไร ทำให้ถ้าเราตัดสินใจจะทำ Application ไม่ว่าจะเป็นบน Android หรือ IOS ก็ตาม ก็ต้องยอมรับขอแตกต่างเหล่านี้